แพร่…ชาวแพร่ “โล่งอก” ขอบคุณทุกฝ่าย ทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ทำให้สถานการณ์น้ำลดลง ไม่ส่งผลกระทบที่เศรษฐกิจฯ
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567 สถานการณ์น้ำใน พื้นที่อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และตลอดสองฝั่งแม่น้ำยมที่มีพื้นที่ราบรุ่มต่ำจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งที่ 2 ซื้อหลายฝ่ายยังวิตกกังวลเป็นอย่างมากเกรงว่าน้ำจะท่วมเป็นครั้งที่ 2 จริงๆ เพราะส่วนใหญ่แล้วพื้นที่ที่น้ำท่วมถึงพี่น้องชาวบ้านมีการเก็บข้าวของไว้ที่สูงและส่วนหนึ่งบางคนก็ได้ทำความสะอาดบ้านและนำสิ่งของเครื่องใช้ลงมาประจำที่ตามเดิม
หากน้ำท่วมอีกครั้งหนึ่งก็จะสร้างความเสียหายซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะที่ผ่านมาความเสียหายในจังหวัดแพร่เป็นจำนวนมาก ความเสียหายวัสดุอุปกรณ์สำนักงานหน่วยงานราชการเอกชนและพี่น้องชาวบ้านที่รถลาได้รับความเสียหายน้ำท่วมต้องขายเป็นซาก สิ้นเนื้อประดาตัว ซึ่งในเรื่องนี้หากทางรัฐบาลถ้าเห็นความเดือดร้อนของพี่น้องชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ควรหามาตรการช่วยเหลือ นอกจากเงิน 10,000 บาท
เมื่อวานนี้สถานการณ์จะขึ้นสูงสุดเวลา 21.00 น.ที่ผ่านมาแต่ทางจังหวัดแพร่ โดยนายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ในฐานะผู้บัญชา
การเหตุการณ์น้ำ มีการประชุมคณะทำงานและได้มีการวางแผนทุกภาคส่วนให้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด
“ทางนายช่างกฤษณะ จากชลประทานแพร่ จะให้ข้อคิดว่า ปัจจุบันเรามีหน่วยงานเก็บข้อมูลคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นข้อมูลสถิติย้อนหลังสามารถสืบค้นได้ด้วย ทางประ
ชาชนทั่วไปเพื่อเป็นการรับรู้ถึงข้อมูลให้ประชาชนในการเตรียมรับสถานการณ์น้ำได้
” เหตุการณ์เกิดน้ำท่วมของเมืองแพร่คงจะเกิดแบบนี้อีกเป็นประจำเกือบทุกปี เนื่องจากปรากฏการณ์เปลี่ยนแปลงจากสภาวะอากาศของโลก การเปลี่ยนแปลงเพราะความเจริญของบ้านเรา จากนี้ไปในอนาคต ทุกภาคส่วน คงต้องช่วยกันวางแผนหาที่อยู่ให้น้องน้ำ ในเรื่องของการตัดยอดน้ำ เหนือเมืองแพร่ ลดมวลน้ำก่อนเข้าตัวเมืองแพร่ ไม่ให้เกินระดับที่อันตราย เพื่อลดความสูญเสียจากน้ำท่วมให้ได้มากที่สุดครับ”
ทางพี่น้องชาวจังหวัดแพร่ ต่างขอบคุณ ทางสำนักงานชลประทานแพร่ที่เป็นฝ่ายชะลอน้ำแม่ยมที่เป็นด่านหน้า ขอบคุณพี่ ๆ กู้ภัยต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องหลังในการช่วยคนเจ็บ ส่งน้ำและอาหารขอบคุณฝ่ายสื่อสารที่สามารถช่วยในการติดต่อเพื่อให้ได้เตรียมตัวรับมือและขอบคุณเจ้าหน้าที่หน่วยงานกรมชลประทานที่เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยระบายน้ำ หน่วยงานทางเทศบาลแพร่ที่ช่วยประสานงานต่าง ๆ เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าที่ช่วยดูแลความปลอดภัยและสุดท้ายขอบคุณทุก ๆ ท่านที่ช่วยกันหาข้อมูล ได้ยอมรับข้อมูลข่าวสาร ซึ่งกันและกัน
นายณัฐนนท์ พรรัตน์อนันต์ ที่ปรึกษา (แม่เลี้ยงติ๊ก) นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า ปัจจุบันเรายังขาดเครื่องมือโทรมาตรอัต
โนมัติที่สำคัญหลายจุดรวมถึงหมู่บ้านที่เสี่ยงภัยแผ่นดินถล่ม รายงานส่งข้อมูลเข้ามา ใน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์กรมหาชน) สสน. ที่เราใช้โปรแกรมมือถือ thaiwater ดูข้อมูลเป็นประจำ อนาคตข้างหน้าหากมีครบทุกหมู่บ้านคงจะช่วยรายงานสถานการณ์น้ำให้กับประชาชนทั่วไปทราบถึงข้อมูล ในการตัดสินใจเผชิญเหตุ
สำหรับระบบโทรมาตรอัต
โนมัติ ที่ส่งข้อมูลให้ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
(องค์การมหาชน) (สสน.) (Thaiwater) เท่าที่ผมเห็นในข้อมูลก็จะมี หน่วยงาน สสน.เอง , กรมทรัพยากรน้ำ , มูลนิธิเพื่อนพึ่งฯ(ภา)ยามยาก สภากาชาดไทย
ข้อมูลปริมาณน้ำท่า เวลา 09.30 น.สถานีบ้านน้ำโค้ง ต.ป่าแมต อ.เมืองแพร่ สถานการณ์น้ำ : น้ำล้นตลิ่ง
สถานีเมืองแพร่ ต.ป่าแมต อ.เมืองแพร่ สถานการณ์น้ำ : น้ำล้นตลิ่ง สถานีบ้านวังชิ้น ต.วังชิ้น อ.วังชิ้น สถานการณ์น้ำ : น้ำล้นตลิ่ง
ในส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำให้เก็บของขึ้นที่สูง ป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สินและที่อยู่อาศัย ขอให้ประชาชนเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยภาพรวมพื้นที่ในเขตอำเภอเมืองแพร่ น้ำได้ลดลงตามลำดับ โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจจังหวัดแพร่ ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพร่ ทาง นายโชคชัย พนมขวัญ นายกเทศมนตรีเมืองแพร่ ให้เจ้าหน้าที่ของเทศบาลเมืองแพร่ บริหารจัดการน้ำเพื่อไม่ให้น้ำเข้าในพื้นที่จนเป็นสำเร็จและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายการติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชลประทานแพร่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
ในส่วนบ้านหมู่ 13 ตำบลป่าแมต (บ้านร้องขี้ปลา)ซึ่งเป็นเป็นพื้นที่ราบลุ่มต่ำน้ำขังเป็นเวลานาน หลังจากนี้ไปทางหน่วยงานรับผิดชอบต้องมีการตั้งเครื่องสูบ เพื่อสูบน้ำออกเช่นเดิม ส่วนโครงการผนังกั้นน้ำที่บริเวณหมู่ 13 ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมืองได้มีการสร้างโครงการไป 1 เฟสและกำลังมีเฟสที่ 2 จะตามมาถ้าจะให้ถ้าจะให้มีการป้องกันน้ำไม่ให้เข้าในเขตเมืองจะต้องสร้างระบบผนังกั้นน้ำทั้งระบบ คาดว่าต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนไม่น้อยซึ่งในเรื่องนี้ต่างจังหวัดต้องไปผลักดันระดับรัฐบาลต่อไป
ธีรพงษ์ ธงออน/แพร่
ศูนย์ข่าว 24northernnews เชียงใหม่…รายงาน