เชียงใหม่-ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ปรึกษา กรมการแพทย์แผนไทยและแผนทางเลือก ) และคณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานในพื้นที่อำเภอแม่ออน ตรวจเยี่ยมดูความพร้อมห้องฉุกเฉิน(ER) โรงพยาบาลแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2567 นายโฆสิต สุวินิจจิต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ,ดร.นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข , นพ.สมฤกษ์ จึงสมาน อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พร้อมคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่อำเภอแม่ออน กิจการน้ำพุร้อนสันกำแพง และโรงพยาบาลแม่ออน โดยมี นางสุเบ็ญญา พัฒนยรรยง นายอำเภอแม่ออนพร้อมด้วยนายเฉลิมศักดิ์ มากมูลผล ผู้จัดการน้ำพุร้อนสันกำแพง ,นายสีหเดช เจียเจษฎา ประธานชมรมมัคคุเทศก์รกษ์ล้านนา กล่าวต้อนรับ พร้อมรับฟังการนำเสนอเรื่อง การดำเนินของกิจการน้ำพุร้อนสันกำแพง / Mae On Wellness City /การนำน้ำพุร้อนมาบำบัดโรคข้อเข่าเสื่อม /กิจกรรมการอาบป่า /การใช้Application MaeOn Wellness City/การเตรียมความพร้อมสถานบริการเพื่อรองรับอุบัติเหตุ และเยี่ยมชมบูธชุมชนอำเภอแม่ออน เช่น Health City Model บ้านป่านอต ต.แม่ทา /ชุมชนวิถีไทลื้อบ้านออนหลวยและร้านนวดฮักแม่ออน ต.ออนเหนือ/ ผลิตภัณฑ์ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ต.ห้วยแก้ว /งานทอผ้าปกาเกอญอย้อมสีธรรมชาติบ้านป่างิ้ว ต.ทาเหนือ /คลินิกแพทย์แผนไทย รพ.แม่ออน
ทั้งนี้ที่ปรึกษากรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกและคณะได้ไปตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแม่ออน อำเภอแม่ออน เพื่อเยี่ยมชมกลุ่มงานกายภาพบำบัดและกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกโรงพยาบาลแม่ออน ตรวจเยี่ยมดูความพร้อมห้องฉุกเฉิน(ER)ชมตึกใหม่อาคารผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลแม่ออน ตรวจเยี่ยมชมบูธชุมชนอำเภอแม่ออน ชุมชนวิถีไทลื้อบ้านออนหลวย ตำบลออนเหนือและ ร้านนวดฮักแม่ออน ,ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน โดยมีนายแพทย์สมจิตร สิงห์ใจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่ออน และคุณอัญชลีสร้อยตา นักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลแม่ออน นำเสนอการดำเนินงาน “Mae on wellness City” โครงการวิจัยประสิทธิภาพการแช่น้ำร้อนในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเล็กน้อย นอกจากนั้นยังมีการนำเสนอกิจกรรมอาบปาเพื่อสุขภาพอีกด้วย
สำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการสัมผัสธรรมชาติในป่า หรือที่เรียกว่า “ชินรินโยคุ” (Shinrin-yoku) หรือ “การอาบป่า” ต่อสุขภาพและการป้องกันโรค โดยนำไปสู่การพัฒนาสาขาใหม่ที่เรียกว่า “Forest Medicine” ซึ่งเน้นการบำบัดและส่งเสริมสุขภาพผ่านการเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เป็นกิจกรรมที่ผู้คนเข้าไปสัมผัสธรรมชาติในป่า เช่น เดินเล่นหรือผ่อนคลายในป่า เพื่อรับประโยชน์จากสภาพแวดล้อมธรรมชาติ มีผลดีต่อทั้งสุขภาพกายและใจ คือ ช่วยลดความเครียด, ลดระดับคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) และช่วยชะลอการเต้นของหัวใจ,กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน: เพิ่มจำนวนเซลล์ Natural Killer (NK) ซึ่งช่วยต้านไวรัสและเซลล์มะเร็ง,ส่งเสริมสุขภาพจิต: ลดอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า และความเหนื่อยล้าทางจิตใจ ซึ่งการอยู่ในธรรมชาติช่วยเพิ่มพลังงานและสมาธิ เป็นการส่งเสริมให้ประชากรเข้าถึงพื้นที่ป่าเพื่อบำบัดสุขภาพ สร้างพื้นที่สีเขียวในเมืองเพื่อให้คนเข้าถึงประโยชน์เชิงบำบัดป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพในระบบการแพทย์
การอาบป่าเป็นวิธีธรรมชาติที่สามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้ช่วยสนับสนุนการจัดตั้งสาขา “Forest Medicine” เพื่อประยุกต์ใช้ในระบบสุขภาพทั่วโลก โดยเน้นถึงความสำคัญของธรรมชาติต่อสุขภาพทั้งกายและใจของมนุษย์
ส่งศักดิ์ พรมเอี่ยม
ธนรักษ์ ศรีบุญเรือง
ศูนย์ข่าวภาคเหนือ 24northernnews เชียงใหม่…รายงาน