สังคม » (มีคลิป)แพร่-วัฒนธรรมจังหวัดแพร่ ร่วมกับ อบต.นาพูน สนับสนันส่งเสริม สืบสานประเพณีอาข่า ถือเป็น soft power ที่สำคัญทางวัฒน ธรรมของจังหวัดแพร่

(มีคลิป)แพร่-วัฒนธรรมจังหวัดแพร่ ร่วมกับ อบต.นาพูน สนับสนันส่งเสริม สืบสานประเพณีอาข่า ถือเป็น soft power ที่สำคัญทางวัฒน ธรรมของจังหวัดแพร่

26 ธันวาคม 2024
131   0

Spread the love

(มีคลิป)แพร่-วัฒนธรรมจังหวัดแพร่ ร่วมกับ อบต.นาพูน สนับสนันส่งเสริม สืบสานประเพณีอาข่า ถือเป็น soft power ที่สำคัญทางวัฒนธรรมของจังหวัดแพร่

 

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 26 ธันวาคม 2567 นางสาวทัศนีย์ ดอนเนตร์ วัฒนธรรมจังหวัดแพร่ เป็นประธานเปิดงานประเพณีสืบสานวัฒนธรรม

ชาวอาข่าบ้านดงยาง ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ที่ลานวัฒนธรรมบ้านดงยางอาข่า หน้าโรงเรียนแม่ฟ้าหลวง ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้การศึกษานอกโรงเรียนบ้านดงยาง จัดโดยองค์การบริหารส่วนตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เป็นงานประเพณีขึ้นปีใหม่สู่ขวัญรับพรปีใหม่ของชาวอาข่าดงยาง มีการดำเนินการทางประเพณีทางวัฒนธรรมสู่ขวัญผูกข้อมือนอกจากนั้นยังมีการแสดงอาทิ กำลังตอกบอก ระดับประยุกต์แม่บ้านอาข่า นอกจากนั้นยังมีการแสดงของชาวลาหู่

การแสดงของชาวไทยใหญ่ซึ่งเป็นชุมชนข้างเคียง มีการทำอาหารและขนมตามประเพณีขึ้นใหม่ เช่น ข้าวปุก ฯลฯ ผมต้องการอนุรักษ์การแต่งกายตามประเพณีของชาวอาข่า

 

นายวิเชียร สมฤทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาพูน กล่าวว่า งานดังกล่าวเป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ในท้องถิ่นซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนความรักความสามัคคีในหมู่กลุ่มชาติพันธุ์รวมทั้งการอนุรักษ์ประเพณี โครงการนี้ทำให้คนในชุมชนท้องถิ่นได้ออกมาแสดงออกมีบทบาทในการคงไว้ซึ่งประเพณีถือเป็นการพัฒนาจังหวัดทางวัฒนธรรมของตนเอง

นางสาวทัศนีย์ ดอนเนตร์ วัฒนธรรมจังหวัดแพร่ กล่าวว่า สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมีการส่งเสริมยกระดับงานประเพณีท้องถิ่นทั้ง 8 อำเภอ

วันนี้เป็นงานประเพณีขึ้นปีใหม่ของชาวอาข่า ซึ่งได้รับความร่วมมือหมู่บ้านใกล้เคียง เช่นชาวไทยใหญ่ และชาวลาหู่ มาร่วมงานสืบสานวัฒนธรรมของพี่น้องชาวอาข่าซึ่งมีการส่งเสริมทั้งนิเวศน์ชุมชนภาษา การแต่งกาย วิถีชีวิตความเป็นอยู่ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญ เป็นโอกาสเปิดให้เยาวชนและนักท่องเที่ยวที่สนใจได้เข้ามาเยี่ยมชมสัมภาษณ์ร่วมศึกษาเรียนรู้

นอกจากนั้นในช่วงฤดูหนาวอย่างมีประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์อีกหลายแห่งเช่น ที่อำเภอร้องกวางเป็นประเพณีของชาวมลาบิ และชาวอาข่าบ้านแม่พร้าว อำเภสอง ซึ่งเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวสนใจวัฒนชุมชนในช่วงฤดูหนาว นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีแล้วยังเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชนได้เป็นอย่างดีถือเป็น soft power ที่สำคัญทางวัฒนธรรมของจังหวัดแพร่

 

ธีรพงษ์ ธงออน/แพร่

ศูนย์ข่าวภาคเหนือ 24northernnews เชียงใหม่…รายงาน