สังคม » ลำพูน…จังหวัดลำพูน จัดประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด เพื่อร่วมกันพิจารณามะม่วงมหาชนกลำพูนให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ภูมิศาสตร์ (GI) รวมถึงพิจารณากลั่นกรองการบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการของจังหวัดลำพูน

ลำพูน…จังหวัดลำพูน จัดประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด เพื่อร่วมกันพิจารณามะม่วงมหาชนกลำพูนให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ภูมิศาสตร์ (GI) รวมถึงพิจารณากลั่นกรองการบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการของจังหวัดลำพูน

18 พฤศจิกายน 2024
94   0

Spread the love

ลำพูน…จังหวัดลำพูน จัดประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด เพื่อร่วมกันพิจารณามะม่วงมหาชนกลำพูนให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ภูมิศาสตร์ (GI) รวมถึงพิจารณากลั่นกรองการบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการของจังหวัดลำพูน

 

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำพูน ชั้น 1ศาลากลางจังหวัดลำพูน นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด จังหวัดลำพูน ครั้งที่ 3/2567 ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่จะต้องให้คณะกรรมการฯ ร่วมกันพิจารณาในหลายประเด็น โดยมีนายปรีชา สมชัย ปลัดจังหวัดลำพูน, นางสาวศศิพิมล ไชยแสนพงศ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำพูน หัวหน้าส่วนราชการคณะอนุกรรมการฯ ภาคีเครือข่าย เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

 

สำหรับวาระการประชุม ประกอบด้วย การรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ไตรมาส 4 ซึ่งสำนักงานการเกษตรและสหกรณ์จังลำพูนได้ดำเนินการติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการของหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดลำพูน จากแผนปฏิบัติการด้านการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดลำพูน ประจำปีงบประมาณ 2567 มีจำนวน 190 โครงการ งบประมาณ 60,033,848 บาท จำแนกตามประเด็นการพัฒนาตามแผนปฏิบัติการด้านการเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2566-2570 ได้แก่ ประเด็นการพัฒนาที่ 1 ยกระดับศักยภาพเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรสมัยใหม่ จำนวน 63 โครงการ ประเด็นการพัฒนาที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง จำนวน 28 โครงการ ประเด็นการพัฒนาที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรทางเกษตร จำนวน 77 โครงการ ประเด็นการพัฒนาที่ 4 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการเกษตร จำนวน 22 โครงการ รวมทั้งหมด 190 โครงการ

 

นอกจากนี้มีการรายงานสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตรในพื้นที่จังหวัดลำพูน โดยพบการระบาดของโรคไหม้ (Rice Blast Disease) ในพื้นที่ อำเภอแม่ทา จำนวน 2 ตำบล คือ ตำบลทาทุ่งหลวงและตำบลทาขุมเงิน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่แปลงนาข้าวของเกษตรกร พร้อมให้คำแนะนำในการป้องกันและกำจัดโรคตามหลักวิชาการแก่เกษตรกร ทั้งนี้ได้พบการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว ระบาดในนาข้าวในพื้นที่จังหวัดลำพูน จำนวน 4 อำเภอ 16 ตำบล ได้แก่ อำเภอแม่ทา 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลทาขุมเงิน ตำบลทากาศ ตำบลทาทุ่งหลวง ตำบลทาแม่ลอบ และตำบลทาปลาดุก, อำเภอบ้านโฮ่ง จำนวน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านโฮ่ง ตำบลป่าพลู และตำบลหนองปลาสะวาย, อำเภอทุ่งหัวช้าง จำนวน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลตะเคียนปม ตำบลทุ่งหัวช้าง และตำบลบ้านปวง และอำเภอลี้ จำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลลี้ ตำบลศรีวิชัย ตำบลแม่ตืน และตำบลนาทราย ซึ่งสำนักงานเกษตรอำเภอได้ดำเนินการประสานเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่สุ่มสำรวจตรวจแปลงนาข้าวของเกษตรกร พร้อมให้คำแนะนำยาสารเคมี เพื่อใช้สำหรับการป้องกันพร้อมทั้งแนะนำการสำรวจแปลงนาข้าวลดความเสียหายครั้งต่อไป

 

ด้านสถาณการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดลำพูน และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดลำพูน ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2567 มีฝนตกปริมาณมากในพื้นที่ 8 อำเภอ ส่งผลให้ดินสไลด์ และมีน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ น้ำล้นตลิ่ง น้ำไหลหลาก ส่งผลให้น้ำในลำน้ำต่างๆ ไหลหลากเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตร ซึ่งสรุปผลกระทบจากอุทกภัยและผลการดำเนินการสำรวจ/ตรวจสอบความเสียหายด้านการเกษตร ระหว่างวันที่ 23 กันยายน 2567 และช่วงวันที่ 4 ตุลาคม 2567 ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย อำเภอบ้านธิ มีจำนวน 2 ตำบล เกษตรกรจำนวน 880 รายที่ได้รับผลกระทบ, อำเภอเมืองลำพูน มีจำนวน 11 ตำบล เกษตรกรจำนวน 1,875 รายที่ได้รับผลกระทบ, อำเภอแม่ทา มีจำนวน 2 ตำบล เกษตรกรจำนวน 78 รายที่ได้รับผลกระทบ, อำเภอป่าซาง มีจำนวน 4 ตำบล เกษตรกรจำนวน 122 รายที่ได้รับผลกระทบ, อำเภอทุ่งหัวช้าง มีจำนวน 3 ตำบล เกษตรกรจำนวน 475 รายที่ได้รับผลกระทบ, อำเภอลี้ มีจำนวน 8 ตำบล เกษตรกรจำนวน 3,221 รายที่ได้รับผลกระทบ, อำเภอบ้านโฮ่ง มีจำนวน 1 ตำบล เกษตรกรจำนวน 12 รายที่ได้รับผลกระทบ และอำเภอเวียงหนองล่อง มีจำนวน 2 ตำบล เกษตรกรจำนวน 160 รายที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งสิ้น 8 อำเภอ 33 ตำบล เกษตรกรจำนวน 6,823 รายที่ได้รับผลกระทบ

 

โอกาสนี้ที่ประชุมยังได้ร่วมกันพิจารณากลั่นกรองข้อมูลปฏิทินผลผลิตสินค้าเกษตรรายเดือนระดับจับจังหวัด เพื่อการบริหารจัดการความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ประจำปี 2567 จังหวัดลำพูน , การพิจารณาการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ภูมิศาสตร์ (GI) มะม่วงมหาชนกของจังหวัดลำพูนอีกด้วย

 

กรรณิการ์ วิจิตรสกลการ/ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดลำพูนศูนย์ข่าว 24northernnews เชียงใหม่…รายงาน