(มีคลิป)เชียงใหม่-กองทุน ววน. จัดประชุมเตรียมจัดทำแผนแก้ฝุ่น PM 2.5 ระยะ 5 ปี
.
กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อทำแผนแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ด้วยงานวิจัย นวัตกรรม และกลไกภาคี PES เพื่อลดฝุ่นในอากาศและคืนสุขภาพที่ดีให้ประชาชน
.
วันนี้ (13 ม.ค. 68) ที่ห้อง Convention Hall โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ท จ.เชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำแผนเพื่อการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ระยะ 5 ปี ของจังหวัดเชียงใหม่ด้วยงานวิจัย นวัตกรรม และกลไกภาคี PES (Payment for Ecosystem Service)” ที่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววท.) จัดขึ้น เพื่อ Kick off การนำกระบวนการวิจัยและการบูรณาการงานวิจัยเพื่อสนับสนุนการสร้างแผนยุทธศาสตร์จังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM25ในระยะ 5 ปี ตลอดจนการระดมความเห็นเพื่อจัดทำ road map การนำองค์ความรู้และงานวิจัยพร้อมใช้ในประเด็นสำคัญเร่งด่วนมาใช้ในการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PMzs จากแหล่งกำเนิด และเตรียมความพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเชื่อมต่อกับแผนปฏิบัติการของหน่วยงานระดับจังหวัด เพื่อผลักดันการนำผลงานวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยมี นายทศพล เผื่อนอุดม ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นายศิวกร บัวป้อง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ สกสว. เข้าร่วมประชุมด้วย
.
ขณะเดียวกัน การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในวันนี้มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 จากหน่วยงานส่วนกลาง และระดับพื้นที่ ผู้แทนภาคประชาสังคม และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 จากหน่วยงานส่วนกลางและระดับพื้นที่ ตลอดจนนักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงาน ววน. สถาบันการศึกษา และหน่วยงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม หารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันกว่า 200 คน
.
ทางด้าน ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ สกสว. ได้เปิดเผยถึงตัวอย่างการสนับสนุนจังหวัดเชียงใหม่ จากงานวิจัยของ ววน. ในการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในมิติต่างๆ ว่าประกอบด้วย การติดตามสถานการณ์ฝุ่นด้วย low cost เซนเซอร์ Dust Boy ร่วมกับเครื่องมือตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษ เพื่อให้ชุมชนสามารถเข้าถึงและติดตามสถานฝุ่นได้อย่างทันท่วงที การสนับสนุนการสร้างห้องปลอดฝุ่นในโรงเรียน และสถานพยาบาล แผนอพยพกลุ่มเปราะบางระดับ ชุมชน และแพลตฟอร์มเตือนภัยระดับวิกฤติ การปรับพฤติกรรมของเกษตรกรเพื่อลดการเผาในพื้นที่เกษตรตลอดห่วงโซ่การเพาะปลูก โดยมุ่งเป้าเปลี่ยนเป็นวิถีเกษตรไม่เผา โดยขยายผลการปรับพืชไร่ (ข้าวโพด) เป็นพืชมูลค่าสูง และพัฒนาระบบตรวจสอบพื้นที่เกษตรไม่เผา การเชื่อมต่อกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรไม่เผา ตลอดจนการจัดการชีวมวลจากเศษวัสดุการเกษตรตลอดห่วงโซ่ และการสร้างแรงจูงใจเพื่อลดการเผาในภาคป่าไม้ด้วยกลไกตอบแทนคุณระบบนิเวศ เพื่อให้ภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคมสนับสนุนทุน หรือการดำเนินงานของชุมชนที่ช่วยดูแลทรัพยากรให้เกิดการลดการเผาในภาคป่าไม้และเกษตรอย่างยั่งยืน ตลอดจนการใช้ข้อมูลและงานวิจัยเพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิทธิทำกิน ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาการเผาพื้นที่เกษตรและพื้นที่ป่าจากความยากจน เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ในอากาศ และให้สุขภาพของพี่น้องประชาชนดีขึ้น ลดโรคที่เชื่อมโยงกับระบบทางเดินหายใจที่มีปัญหามาจากฝุ่น PM 2.5 ให้ลดลงไปด้วยเช่นกัน
ส่งศักดิ์ พรมเอี่ยม/ธนรักษ์ ศรีบุญเรือง///ศูนย์ข่าวภาคเหนือ 24northernnews เชียงใหม่…รายงาน